แผนการศึกษา
Q : ถ้าอยู่ระดับชั้นเดียวกันและแผนการเรียนเหมือนกันยื่นพร้อมกันเลยได้หรือไม่
A : ถ้าเรามีกลุ่มการเรียนการสอนที่มีแนวทางการเรียนรู้คล้ายๆ กันหรือแผนการเรียนเหมือนกัน สามารถยื่นแผนการเรียน
การสอนไปพร้อมกันเป็นกลุ่มได้เลย โดยทางเขตจะรับพิจารณาพร้อมกัน ซึ่งจะประหยัดเวลาให้กับผู้ปกครองมาก
Q : ถ้าเขียนแผนการสอนไม่ผ่านจะทำอย่างไร?
A : ตั้งแต่ตอนที่ยื่นเอกสารการจัดตั้ง Home School ทางเขตจะมีศึกษานิเทศน์ประจำครอบครัวนั้นให้ ครอบครัวละ 2 คน โดยศึกษานิเทศน์จะคอยแก้แผนและให้คำปรึกษาเรื่องแผนการสอนจนกว่าเราจะยื่นแผนการสอนผ่าน
Q : ทะเบียนบ้านผู้ปกครองและเด็กอยู่คนละที่ได้ไหม?
A : สามารถอยู่คนละที่ได้ แต่คนที่จดทะเบียน Home School จะต้องเป็นผู้ที่ชื่อในทะเบียนบ้านอยู่ในกรุงเทพฯเท่านั้น
การเรียนการสอน
Q : ถ้าเกิดครูๆ ไม่สามารถทำการเรียนการสอนได้ เด็กจะต้องทำอย่างไร
A : 1. คุณพ่อคุณแม่จัดการเรียนการสอนเอง
2. ให้เด็กกลับเข้าไปเรียนในระบบโดยใช้วุฒิโฮมสคูลล่าสุดที่ได้รับ
3. พ่อแม่นำลูกไปเรียน กศน. โดยสามารถใช้วุฒิโฮมสคูลล่าสุดที่ได้รับสมัครเรียนได้
4. พ่อแม่นำลูกไปขึ้นชื่อกับโรงเรียนทางเลือก
5. ให้ลูกเรียนออนไลน์ต่างประเทศ
หมายเหตุ : ถ้าพ่อแม่สงสัยในคำถามข้อนี้ แสดงว่าพ่อแม่สงสัยในความมั่นคงของเด็ก ซึ่งการที่พ่อแม่พาลูกมาเรียนโฮมสคูลนั้น เราก็ประกันความมั่นคงของเด็กให้แล้ว และต้องถามว่าการที่พ่อแม่เลี้ยงลูกเองอยู่ทุกวันนี้ พ่อแม่ประกันความมั่นคงให้กับลูกแล้วหรือยัง ความมั่นคงที่ว่านี้ไม่ใช่ความมั่นคงของชีวิตว่าจะมีชีวิตต่อไปได้นานแค่ไหน แต่เป็นความมั่นคงในการใช้ชีวิตว่าเด็กจะสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างไรด้วยตัวเค้าเอง เมื่อไม่มีใครคอยช่วยเค้า เมื่อชีวิตเป็นของเค้าเอง ซึ่งเราจะช่วยให้เค้าสามารถใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้
Q : ลูกเรียนโฮมสคูลจะมีสังคมหรือไม่
A : การที่ลูกรู้จักคนเยอะๆ ไม่ได้หมายความว่ามีสังคม ขนาดครอบครัวบางครอบครัวอยู่ด้วยกัน กินนอนด้วยกัน ยังไม่เกิดสังคมในครอบครัวเลย ยกตัวอย่างเช่น พ่อกลับบ้านมาเปิดทีวีนั่งดูคนเดียวไม่สนใจใคร หรือบางทีคนในบ้านมีสีหน้าท่าทางเปลี่ยนไป คนในบ้านก็ยังไม่สนใจไม่รับรู้ เป็นต้น สังคมจริงๆ ต้องมีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
ถึงแม้ว่าจะรู้จักคนน้อย แต่มีความเข้าใจกัน สนใจกัน มีปฏิสัมพันธ์กัน ก็เรียกว่ามีสังคมได้ และไม่ใช่แค่มีสังคมแต่มีสังคมที่ดีอีกด้วย
Q : เด็กที่เรียนHome School สามารถเรียนรด.ได้หรือไม่?
A : เพราะว่าการเรียนรักษาดินแดนนั้นจะต้องนำชื่อของเด็กไปขึ้นกับโรงเรียนเพราะทางโรงเรียนจะเป็นคนติดต่อประสานงาน
กับทางโรงเรียนรักษาดินแดนให้เองว่าจะให้เราไปเรียนวันไหน อย่างไร โดยเด็กที่เรียน Home School จะต้องไปขึ้นชื่อกับโรงเรียนรุ่งอรุณค่ะ
Q : หลักสูตรเรียนเหมือนในระบบหรือไม่?
A : หลักสูตรในระบบเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรากำลังจะทำค่ะ เรากำลังจะสอนทุกอย่างให้กับเด็กๆ ทั้งด้านวิชาการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ในระบบให้ความสำคัญ ด้านวิชาชีพ ซึ่งเป็นสิ่งที่อาชีวะเน้นหรือแม้กระทั่งด้านดนตรี กีฬา ศิลปะค่ะ ฉะนั้นถ้าถามว่าหลักสูตรเราเหมือนของในระบบหรือไม่ ต้องบอกเลยว่าไม่ เพราะเราทำเหนือกว่าสิ่งที่ในระบบทำอยู่มากค่ะ
การจดทะเบียนโฮมสคูล
Q : ถ้าอยากกลับเข้าไปในระบบสามารถทำได้หรือไม่
A : สามารถทำได้ค่ะ โดยนำวุฒิที่จบโฮมสคูล ณ ปีที่เรียน ไปยื่นสมัครกับโรงเรียนรัฐบาลหรือโรงเรียนเอกชนได้เลยค่ะ
Q : ถ้าผู้ปกครองวุฒิการศึกษาไม่ถึง ม.ปลายทั้ง 2 คน ทำอย่างไร?
A : นำสำเนาบัตรประชาชนและวุฒิการศึกษาม.ปลาย/เทียบเท่า หรือวุฒิสูงกว่านั้นของผู้ที่จะช่วยสอนแนบมาด้วย (ครอบครัวไหนที่ผู้ปกครองไม่จบม.ปลายทั้งสองคน ทางคณะกรรมการจะซักถามถึงแผนการสอนมากกว่าปกติ)
Q : ลูกไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ สามารถจดโฮมสคูลได้หรือไม่
A : ได้ค่ะ แต่ต้องมีหนังสือรับรองว่าได้รับการยินยอมจากพ่อแม่และมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นู้ดำเนินการแทน
Q : ถ้าลูกเรียนกำลังเรียนอยู่เทอม 1 หรือเทอม 2 ต้องเรียนให้จบปีก่อน แล้วค่อยออกมาทำโฮมสคูลหรือลาออกมาทำโฮมสคูลเลย แบบไหนดีกว่ากัน ?
A : แนะนำให้พ่อแม่พาลูกออกมาเลย เพราะถ้ายังคงเรียนในระบบต่อไปก็เท่ากับเสียเงินและเสียเวลาเปล่า
แต่ถ้าลูกเรียนเพิ่งเรียนจบ ม 3 เทอม 1 หรือกำลังเรียนอยู่ ม 3 เทอมสอง ก็ให้ลูกเรียนในโรงเรียนให้จบก่อน
Q : ลูกอนุบาลสามารถเรียน Home School ได้หรือไม่?
A : ในโรงเรียนรัฐบาลจะใช้เวลาในการเรียนอนุบาล 2 ปี และในโรงเรียนเอกชนจะใช้เวลาในการเรียนอนุบาล 3 ปี
ซึ่งอาจทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในเรื่องของอายุ และความพร้อมของเด็ก ทางสำนักงานเขตจึงกำหนดไว้ว่า เด็กจะต้องอายุ 4 ขวบบริบูรณ์ขึ้นไปจึงจะสามารถจดทะเบียน Home School ของอนุบาลได้
Q : ข้อแตกต่างระหว่างการจดทะเบียนโฮมสคูลกับเขตการศึกษาและสมาคมบ้านเรียนไทยร่วมกับรุ่งอรุณ
A : 1. จดกับเขตฯได้เงินค่าอุดหนุนรายหัวตามที่ สพฐ.กำหนดไว้ แต่จดกับสมาคมฯ ไม่ได้รับเงินค่าอุดหนุนฯ เพราะ รุ่งอรุณ ไม่ได้ตั้งเบิก (ตามข้อตกลงกับสมาคมฯ)
2. จดกับเขตฯอาจจะต้องรอขั้นตอนโน่นนี่นั่นช้าหน่อย แต่จดกับสมาคมฯไม่ต้องรอ เพราะสมาคมฯเข้าใจ และไม่เรื่องมากเหมือน (หลายๆ) เขตพื้นที่ฯ
3. จดกับเขตฯอาจต้องทำความเข้าใจเรื่องการเขียนแผนฯ การวัดและประเมินผล กันพอสมควร ถ้าเข้าใจตรงกันได้ก็ดีไป แต่ถ้าเห็นไม่ตรงกัน ก็จะต้องอธิบายความกันไปเรื่อยจนกว่าจะได้ข้อยุติ ซึ่งเป็นที่มาในการสร้างความเบื่อหน่ายให้กับครอบครัว ส่วนจดกับสมาคมฯ ปัญหานี้ไม่มี เพราะเราเข้าใจหัวอกพ่อ-แม่เป็นอย่างดี ไม่งั้นจะมาทำโครงการฯนี้ทำไม!
4. จดกับเขตฯ หลายๆเรื่องหลายๆกรณี ยืดหยุ่นไม่ได้เลย จนบางครั้งอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้ง แต่จดกับสมาคมฯ ถ้ามีปัญหาใด เราหารือร่วมกัน 3 ฝ่าย
(คือฝ่ายพ่อ-แม่ ฝ่ายสมาคมฯ และฝ่ายรุ่งอรุณ) ตลอดในทุกๆเรื่อง ภายใต้บริบทพื้นฐานที่เป็นไปตามกฎกระทรวงฯ
***ส่วนที่เหมือนกันก็คือ ได้วุฒิ(ใบ ป.พ.)ซึ่งมีศักดิ์และสิทธิ์ เหมือนกันทุกประการ
Q : พอเราจดทะเบียนกับเขตการศึกษาแล้วเราจะสามารถรับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาหรือไม่?
A :

